Google
 

싼야민공-Phomthong's LiveTV 3G+ Online

phomthong on livestream.com. Broadcast Live Free

RUDOLPH THE RED NOSED REINDEER- By UKULELE MIKE"

U900 -Jingle Bells Special Project

การศึกษาเอกชนก้าวหน้า ก้าวไกล สู่สากล


3S+: Sense Smart Star Plus e-Tutor Center

Project Based Learning: การเรียนรู้แบบโครงงาน

โครงงานเรื่อง การเลี้ยงจิ้งหรีดขาว

แม่กบช่วยลูก

มัคคุเทศก์น้อย (Guide Junior)

Monday, October 31, 2011

โครงการ(Project)

โครงการ(Project)
โปรเจกต์ เป็นการจัดการเรียนรู้แบบหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ปฎิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา
สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้คอยกระตุ้น แนะนำและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โครงงาน หมายถึงกระบวนการทำงานที่ผู้เรียนทำด้วยตนเองตามจุดประสงค์ที่กำหนด
แล้วเสนอผลงานต่อผู้สอน

โครงงานภาษาอังกฤษ...ประถมตอนปลาย


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 มาตรา 24 กล่าวว่า "การจัดกระบวนการเรียนรู้จะต้องจัดเนื้อหาสาระ
และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์
การประยุกต์ความรู้มาใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้
คิดเป็น ทำเป็น และให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งจัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ
รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา การจัดการเรียนรู้สามารถจัดได้ทุกสถานที่
และทุกเวลา"
จะเห็นได้ว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานสอดคล้องและครองคลุมสาระสำคัญในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 ทั้งหมดและยังนำไปใช้ในการเรียนรู้แบบบูรณาการได้เป็นอย่างดียิ่ง

โครงการวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น 1/7


โครงการวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น 4/7


การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียน
ได้คิดและได้ลงมือปฎิบัติจริงด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ผู้เรียนได้เรียนโดยวิธีเรียนรู้ของตนเอง
ทำให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งรู้จักวางแผนการทำงาน การลงมือปฎิบัติ ได้ตรวจสอบผลงานเพื่อการปรับปรุงงาน
หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฎิบัติด้วยตนเอง

Math Show ตอน พีทาโกรัส


โครงงานชนิดของคำ-ภาษาไทย


...ฝากให้เปลี่ยนตนเองสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข (Happy Learning) และการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning)

No comments:

Post a Comment

ประโยชน์การเรียนรู้แบบโครงงาน
+ ผู้เรียนได้พัฒนาการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง (Learning by Doing)
+ ส่งเสริมกระบวนการคิด ได้แสดงออกถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ลงมือปฎิบัติจริง สามารถสร้างผลงานและแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจาก
การเรียนรู้ด้วยตนเองได้
+ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ พร้อมกับฝึกภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีได้
+ เป็นการบูรณาการความรู้ความคิดกับชีวิตประจำวัน ทำให้สามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

ประเภทของโครงงาน
ถ้าแบ่งตามสาระการเรียนรู้
1. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ทั้ง 8
เป็นโครงงานที่ใช้เนื้อหาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ (วิชานั้นๆ)
เป็นพื้นฐานในการทำโครงงาน โดยมีการบูรณาการความรู้ ทักษะ
คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมเข้าด้วยกัน
2. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนสามารถกำหนด
ขั้นมาตามความสนใจและความถนัด โดยเป็นการนำเอาความรู้
ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
มาบูรณาการเข้าด้วยกัน

ถ้าแบ่งตามลักษณะการดำเนินงาน
1. โครงงานประเภทสำรวจข้อมูล
2. โครงงานประเภทศึกษาค้นคว้า
3. โครงงานประเภททดลอง
4. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์

ขั้นตอนการทำโครงงาน 6 ขั้นตอน
1. การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องโครงงาน แล้ววิเคราะห์ด้วยตารางวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจเลือกหัวข้อโครงงานของนักเรียน

2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงงานที่จะทำ
เป็นการหาข้อมูลเบื้องต้นจากแหล่งต่างๆ การขอคำปรึกษา จากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงสำรวจวัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงงาน (คิดงบประมาณในการจัดทำไว้เลย)

3. การเขียนเค้าโครงของโครงงาน (ตามแบบที่กำหนดให้..เสนอครูที่ปรึกษา รอการอนุมัติว่า ผ่านหรือไม่?)

4. การปฎิบัติโครงงาน ที่เน้นความรอบคอบ ประหยัด จดบันทึก ภาพ เสียง ไฟล์วีดีโอ ในเรื่องของปัญหา อุปสรรค... เก็บข้อมูลตามจริง
ลงภาคสนาม... ทดลอง

5. การเขียนรายงาน..
5.1 เขียนคล้ายรูปแบบของเค้าโครง
5.2 เขียนเป็นบทตามรูปแบบงานวิจัย

การประเมินโครงงาน เพื่อดูปัญหา อุปสรรคในการทำงาน พัฒนาต่อไป
มีการประเมินผลงานโครงการ..ที่สะท้อนถึงสิ่งต่อไปนี้
1. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. เนื้อหาสาระ
3. กระบวนการทำงาน
4. คุณภาพของโครงงาน
5. ทักษะในการสื่อสารในการนำเสนอผลงานโครงงานของนักเรียน
6. การจัดกิจกรรมการสอนของครู

กรอบการประเมิน
1. ประเมินอะไร? คือ
+ดูการแสดงออกด้าน ความรู้ความคิด ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดี
+ กระบวนการเรียนรู้
+ กระบวนการคิด
+ กระบวนการดำเนินงาน
+ผลงาน

2. ประเมินเมื่อใด?
+ ประเมินอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นโครงงาน
+ประเมินระหว่างปฎิบัติงาน
+ ประเมินหลังเสร็จการทำโครงงาน

3. ประเมินจากอะไร?
+ ผลงาน (เอกสาร / ชิ้นงาน)
+ แบบบันทึกต่างๆ
+ แฟ้มสะสมผลงาน
+ หลักฐานอื่นๆ (ภาพถ่าย, วีดิทัศน์, แถบบันทักเสียง)

4. ประเมินโดยใคร?
+ ตัวผู้ทำโครงงาน
+ เพื่อน
+ ครู-อาจารย์
+ ผู้ปกครอง
+ ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ (ที่ปรึกษา, ผู้ทรงคุณวุฒิ)

5. ประเมินโดยวิธีใด
+ การสังเกต
+ การสอบถาม
+ การสัมภาษณ์
+ การตรวจรายงาน
+ การตรวจผลงาน / ชิ้นงาน
+ การทดสอบ
+ การรายงานปากเปล่า
+ การจัดนิทรรศการ

มีการจัดทำแฟ้มผลงานโครงงานตามแบบที่กำหนดให้...

ทุกโครงงานจะมีแบบรายงาน 1 ฉบับ..
บอร์ดสรุป ตามขนาดมาตรฐาน
สื่อประกอบการนำเสนอ...

2. ป