Google
 

싼야민공-Phomthong's LiveTV 3G+ Online

phomthong on livestream.com. Broadcast Live Free

RUDOLPH THE RED NOSED REINDEER- By UKULELE MIKE"

U900 -Jingle Bells Special Project

การศึกษาเอกชนก้าวหน้า ก้าวไกล สู่สากล


3S+: Sense Smart Star Plus e-Tutor Center

Project Based Learning: การเรียนรู้แบบโครงงาน

โครงงานเรื่อง การเลี้ยงจิ้งหรีดขาว

แม่กบช่วยลูก

มัคคุเทศก์น้อย (Guide Junior)

Wednesday, November 2, 2011

ประเภทของโครงงาน

ประเภทของโครงงาน
แบ่งได้ 2 ประเภท
ประเภทโครงงานแบ่งตามสาระการเรียนรู้ 2 ประเภท
1. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ เป็นโครงงานที่ใช้เนื้อหาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ เป็นพื้นฐานในการทำโครงงาน
โดยมีการบูรณาการความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมเข้าด้วยกัน



2. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนสามารถกำหนดขึ้นมาตามความสนใจและความถนัด
โดยเป็นการนำเอาความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ มาบูรณาการด้วยกัน



ประเภทโครงงานแบ่งตามลักษณะการดำเนินงาน

1. โครงงานประเภทสำรวจข้อมูล รวบรวมข้อมูล
จุดประสงค์ เพื่อสำรวจรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ แล้วนำมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนออย่างมีระบบ
เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ในเรื่องดังกล่าวนั้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ได้ผลดียิ่งขึ้น ได้ผลดียิ่งขึ้น โดยในการทำโครงงานประเภทนี้ ผู้เรียนจะต้องใช้วิธีการต่างๆ ในการสำรวจรวบรวมข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ สอบถาม สำรวจ
ตัวอย่างโครงงานประเภทนี้ ได้แก่..
- การสำรวจรูปทรงทางเรขาคณิตของใบพืชชนิดต่างๆ
- การสำรวจสัตว์ในท้องถิ่น
- การสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านต่างๆ
- การสำรวจแหล่งอารยธรรมโบราณ
- การสำรวจเส้นทางเดินทัพตามประวัติศาสตร์ไทย
- การสำรวจภาษาถิ่นในชุมชน
- การสำรวจพืชสมุนไพรในท้องถิ่น

2. โครงงานประเภทศึกษาค้นคว้า
จุดประสงค์ เพื่อแสวงหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆ เช่น ห้องสมุด สำนักงาน สถาบัน
เว็บไซต์ต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้ในเรื่องนั้นๆ โดยตรง เป็นการฝึกฝนหาแนวทางในการแสวงหา
ความรู้ด้วยตนเอง ในเรื่องที่ยังไม่มีผู้ใดคิดมาก่อน เพื่อนำมาเทียบเคียงกับความรู้ที่ได้โดยตรงจาก
หนังสือเรียน ตำราหรือเอกสารทางวิชาการ รวมทั้งเป็นการศึกษาค้นคว้าทดลองเพื่อค้นหาหรือ
ตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือทฤษฎี ซึ่งผลการศึกษาค้นคว้าทดลองอาจคลาดเคลื่อนไปครบถ้วน
ตัวอย่างโครงงานประเภทศึกษาค้นคว้า
+ การศึกษาเส้นทางเดินของสุนทรภู่ตามนิราศ
+ การศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์เรื่องเจดีย์ยุทธหัตถี
+ การศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์เรื่องพันท้ายนรสิงห์
+ การสืบค้นและศึกษาเรื่องอาหารจากกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
+ การศึกษาค้นคว้าตำรายาแผนโบราณ
+ การศึกษาค้นคว้าของเล่นพื้นบ้านภูมิปัญญาไทย
+ การพิสูจน์ความจริงของทฤษฎีทางเรขาคณิต


3. โครงงานประเภททดลอง
+ลักษณะของโครงงานประเภทนี้ ต้องมีการออกแบบการทดลอง เพื่อศึกษาผลของตัวแปร
หรือตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม และมีการควบคุมตัวแปรอื่นๆ ที่ไม่ต้องการศึกษาที่จะส่งผล
ให้การศึกษาคลาดเคลื่อน ขั้นตอนการทำโครงการประเภทนี้จะต้องมีการกำหนดปัญหา ตั้งสมมุติฐาน
ออกแบบการทดลอง ดำเนินการทดลองเพื่อหาคำตอบของปัญหา หรือตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้
แปรผล และสรุปผล การทำโครงงานประเภททดลองนี้ ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องทำการทดลองเพื่อ
ศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นเสียก่อน เพื่อให้ได้ข้อมูลบางประการมาใช้ประกอบการตัดสินใจ
ในการกำหนดรายละเอียดต่างๆ ของการศึกษาค้นคว้าจริงต่อไป
ตัวอย่างชื่อโครงงาน ประเภททดลอง
+การเปลี่ยนเพศปลาหางนกยูงโดยใช้ไรแดง
+ การใช้เม็ดโฟมป้องกันหนอนผีเสื้อกินใบส้ม
+ การใช้สารสกัดจากใบมันสำปะหลังเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
+ ถุงเพาะชำจากน้ำตะโก
+ ขิงชะลอการบูด
+ การทำกระดาษจากกาบกล้วย
+ เซลล์ไฟฟ้าพลังดิน
+ การลดปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์

4. โครงงานสิ่งประดิษฐ์
จุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จากการสังเกต วิเคราะห์เครื่องมือเครื่องใช้
หรือวิธีการในการจัดการต่างๆ แล้วพัฒนาหรือสร้างขึ้นใหม่ เพื่อสนองความต้องการของสังคม
ตามความรู้ความสามารถที่มีอยู่ การพัฒนาหรือสร้างชิ้นงานนี้ มักจะเกิดขึ้นหลังจากทำโครงงาน
สำรวจข้อมูล และโครงงานทดลองมาก่อน
ตัวอย่างโครงงานสิ่งประดิษฐ์
+ การประดิษฐ์เครื่องห่อผลไม้
+ การสร้างหรือพัฒนาระเบียบวิธีจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือผลิตผล
+ เครื่องกลั่นน้ำพลังแสงอาทิตย์
+ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
+ การประดิษฐ์เครื่องสูบน้ำพลังลม
+ เทคนิคการถนอมอาหารแบบพื้นบ้าน
+ เทคนิคการปลูกพืชสมุนไพร
+ นวัตกรรมในการลอกภาพเขียนโบราณ
+ เทคนิคการย้อมสีผ้าโดยใช้ภูมิปัญญาไทย


http://roborobo.co.kr/eng/

No comments:

Post a Comment

ประโยชน์การเรียนรู้แบบโครงงาน
+ ผู้เรียนได้พัฒนาการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง (Learning by Doing)
+ ส่งเสริมกระบวนการคิด ได้แสดงออกถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ลงมือปฎิบัติจริง สามารถสร้างผลงานและแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจาก
การเรียนรู้ด้วยตนเองได้
+ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ พร้อมกับฝึกภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีได้
+ เป็นการบูรณาการความรู้ความคิดกับชีวิตประจำวัน ทำให้สามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

ประเภทของโครงงาน
ถ้าแบ่งตามสาระการเรียนรู้
1. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ทั้ง 8
เป็นโครงงานที่ใช้เนื้อหาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ (วิชานั้นๆ)
เป็นพื้นฐานในการทำโครงงาน โดยมีการบูรณาการความรู้ ทักษะ
คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมเข้าด้วยกัน
2. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนสามารถกำหนด
ขั้นมาตามความสนใจและความถนัด โดยเป็นการนำเอาความรู้
ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
มาบูรณาการเข้าด้วยกัน

ถ้าแบ่งตามลักษณะการดำเนินงาน
1. โครงงานประเภทสำรวจข้อมูล
2. โครงงานประเภทศึกษาค้นคว้า
3. โครงงานประเภททดลอง
4. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์

ขั้นตอนการทำโครงงาน 6 ขั้นตอน
1. การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องโครงงาน แล้ววิเคราะห์ด้วยตารางวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจเลือกหัวข้อโครงงานของนักเรียน

2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงงานที่จะทำ
เป็นการหาข้อมูลเบื้องต้นจากแหล่งต่างๆ การขอคำปรึกษา จากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงสำรวจวัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงงาน (คิดงบประมาณในการจัดทำไว้เลย)

3. การเขียนเค้าโครงของโครงงาน (ตามแบบที่กำหนดให้..เสนอครูที่ปรึกษา รอการอนุมัติว่า ผ่านหรือไม่?)

4. การปฎิบัติโครงงาน ที่เน้นความรอบคอบ ประหยัด จดบันทึก ภาพ เสียง ไฟล์วีดีโอ ในเรื่องของปัญหา อุปสรรค... เก็บข้อมูลตามจริง
ลงภาคสนาม... ทดลอง

5. การเขียนรายงาน..
5.1 เขียนคล้ายรูปแบบของเค้าโครง
5.2 เขียนเป็นบทตามรูปแบบงานวิจัย

การประเมินโครงงาน เพื่อดูปัญหา อุปสรรคในการทำงาน พัฒนาต่อไป
มีการประเมินผลงานโครงการ..ที่สะท้อนถึงสิ่งต่อไปนี้
1. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. เนื้อหาสาระ
3. กระบวนการทำงาน
4. คุณภาพของโครงงาน
5. ทักษะในการสื่อสารในการนำเสนอผลงานโครงงานของนักเรียน
6. การจัดกิจกรรมการสอนของครู

กรอบการประเมิน
1. ประเมินอะไร? คือ
+ดูการแสดงออกด้าน ความรู้ความคิด ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดี
+ กระบวนการเรียนรู้
+ กระบวนการคิด
+ กระบวนการดำเนินงาน
+ผลงาน

2. ประเมินเมื่อใด?
+ ประเมินอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นโครงงาน
+ประเมินระหว่างปฎิบัติงาน
+ ประเมินหลังเสร็จการทำโครงงาน

3. ประเมินจากอะไร?
+ ผลงาน (เอกสาร / ชิ้นงาน)
+ แบบบันทึกต่างๆ
+ แฟ้มสะสมผลงาน
+ หลักฐานอื่นๆ (ภาพถ่าย, วีดิทัศน์, แถบบันทักเสียง)

4. ประเมินโดยใคร?
+ ตัวผู้ทำโครงงาน
+ เพื่อน
+ ครู-อาจารย์
+ ผู้ปกครอง
+ ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ (ที่ปรึกษา, ผู้ทรงคุณวุฒิ)

5. ประเมินโดยวิธีใด
+ การสังเกต
+ การสอบถาม
+ การสัมภาษณ์
+ การตรวจรายงาน
+ การตรวจผลงาน / ชิ้นงาน
+ การทดสอบ
+ การรายงานปากเปล่า
+ การจัดนิทรรศการ

มีการจัดทำแฟ้มผลงานโครงงานตามแบบที่กำหนดให้...

ทุกโครงงานจะมีแบบรายงาน 1 ฉบับ..
บอร์ดสรุป ตามขนาดมาตรฐาน
สื่อประกอบการนำเสนอ...

2. ป